รู้จัก Micro Workouts เทรนด์ออกกำลังกายของคนรุ่นใหม่

การออกกำลังกายแบบ Micro Workouts หรือ การออกกำลังกายแบบสั้น ๆ แนวคิดที่ตอบโจทย์ผู้มีเวลาจำกัด ควรมีการวางแผนและปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
สารบัญ

การออกกำลังกายแบบ Micro Workouts หรือ การออกกำลังกายแบบสั้น ๆ ถือเป็นแนวคิดที่ตอบโจทย์สำหรับคนที่มีเวลาจำกัด ในการเริ่มต้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่ควรมีการวางแผน และปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อให้การฝึกฝนเป็นผล ตลอดจนปลอดภัยต่อร่างกาย มาดูประโยชน์ และตัวอย่างการทำ Micro Workouts ในบทความนี้

ประโยชน์ของ Micro Workouts

การออกกำลังกายแบบ Micro Workouts ช่วยให้ได้รับประโยชน์จากการออกกำลังกายในระยะเวลาสั้น ๆ เหมาะสำหรับผู้ที่มีเวลาน้อย มีความยืดหยุ่น สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่จำเป็นต้องไปยิม หรือมีอุปกรณ์พิเศษ การกระตุ้นร่างกายในระยะเวลาสั้น ๆ เร่งเผาผลาญ ช่วยเสริมสร้างระบบเมตาบอลิซึม

เสริมสร้างสุขภาพร่างกายและจิตใจ ได้รับประโยชน์ในด้านการเผาผลาญแคลอรี การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการลดความเครียด การออกกำลังกายแม้เป็นเวลาสั้น ๆ สามารถช่วยยืดอายุของอวัยวะ และลดความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ เพิ่มความมั่นใจในตนเอง สำหรับคนที่ไม่สามารถออกกำลังกายเต็มรูปแบบได้ การทำ Micro Workouts สามารถช่วยรักษาความสม่ำเสมอในการออกกำลังกายได้อีกด้วย

ตัวอย่างการทำ Micro Workouts

ท่าฝึกบนพื้น

  • Push-Ups (ท่าวิดพื้น): ทำ 10-15 ครั้ง
  • Sit-Ups (ท่าซิทอัพ): ทำ 10-15 ครั้ง
  • Plank (ท่าแพลงก์): ต่อเนื่อง 20-30 วินาที

ท่าฝึกเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อขา

  • Air Squats (ท่าสควอช): ทำ 10-15 ครั้ง
  • Lunges (ท่าลันจ์): ทำ 5-10 ครั้ง สำหรับแต่ละข้าง

ท่าฝึกเพื่อการยืดเหยียด

  • Standing Toe Touches (ท่ายืดกล้ามเนื้อน่อง): ทำ 10 ครั้ง
  • Quad Stretch (ท่ายืดกล้ามเนื้อหน้าขา): ยืดแต่ละข้าง 15-20 วินาที

ท่าฝึกสำหรับเสริมสร้างกล้ามเนื้อแขน

  • Tricep Dips (ท่าออกกำลังกายส่วนหน้าอก และแขนหลังส่วนบน): ทำ 10-15 ครั้ง
  • Arm Circles (ท่าเล่นไหล่): หมุนไปทางขวาและซ้าย 10 ครั้ง

ท่าฝึกสำหรับกระตุ้นระบบหัวใจและการหายใจ

  • High Knees (ท่าเข่าสูง): ทำ 30 วินาที
  • Jumping Jacks (ท่ากระโดดตบ): ทำ 20-30 ครั้ง

คำแนะนำในการเริ่มต้น Micro Workouts

หากยังไม่เคยออกกำลังกาย หรือหยุดออกกำลังกายมาเป็นเวลานาน ควรเริ่มด้วยการฝึกท่าพื้นฐาน และปรับจำนวนครั้งให้เหมาะสมกับร่างกาย ก่อนเริ่ม Micro Workouts ควรทำการคลายกล้ามเนื้อ 5-10 นาที เพื่อเตรียมร่างกายและป้องกันการบาดเจ็บ ควรใส่เสื้อผ้าที่สวมสบาย เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ และใส่รองเท้าที่เน้นการซัพพอร์ต เลือกสถานที่ที่ปลอดภัย ไม่เป็นอันตราย และมีพื้นที่เพียงพอ

หากรู้สึกเจ็บ ปวด หรือไม่สบายในระหว่างการออกกำลังกาย ควรหยุดทันที และปรึกษาแพทย์หากยังคงปวดต่อเนื่อง กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น การทำ Micro Workouts 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือการเพิ่มจำนวนครั้งในการฝึก แม้ว่า Micro Workouts จะใช้เวลาไม่นาน แต่ควรกำหนดเวลาเฉพาะเจาะจงในแต่ละวัน เพื่อให้การฝึกฝนเป็นกิจวัตรประจำ ลองปรับเปลี่ยนเนื้อหาและรูปแบบของการฝึกเพื่อไม่ให้รู้สึกเบื่อหรือติดขัด อาจชวนเพื่อนและสมาชิกในครอบครัวมาร่วมฝึก หรือเข้าร่วมกลุ่มในสื่อสังคมเพื่อรับแรงบันดาลใจ และแชร์ประสบการณ์

บทสรุปของ Micro Workouts

หลังจากฝึก Micro Workouts ไปสักพัก ควรทบทวนและประเมินผลเพื่อดูว่าคุณได้รับประโยชน์อย่างไร และมีสิ่งใดที่ควรปรับปรุง ในยุคที่เวลาเป็นสิ่งสำคัญ Micro Workouts น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะยุ่งหรือมีเวลาน้อยก็สามารถมีสุขภาพที่ดีได้!

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest

Story you might be interested in

เรียนเป็นยูทูปเบอร์

แชร์ทริควิธีการเลือกคอร์สเรียนเป็นยูทูปเบอร์

การลงเรียนคอร์สอบรมเพื่อเรียนเป็นยูทูปเบอร์เป็นเส้นทางที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะและเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้จากแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ยอดนิยมอย่าง YouTube

Read More »
ประโยชน์ของแคลเซียม

บทบาทและประโยชน์ของแคลเซียมในการบำรุงเล็บ ผิว และผม

แคลเซียมมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพของเล็บ ผิว และผม เนื่องจากเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อกระบวนการสร้างเซลล์และการบำรุงรักษาโครงสร้างเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย ประโยชน์ของแคลเซียมมีดังนี้

Read More »
แคลเซียมบำรุงกระดูก

วิธีป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนด้วยแคลเซียมบำรุงกระดูก

การป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนด้วยการบำรุงกระดูกด้วยแคลเซียมบำรุงกระดูกเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย โรคกระดูกพรุนเกิดจากการสูญเสียมวลกระดูกทำให้กระดูกเปราะและหักง่าย

Read More »
มือเท้าชา ขาดวิตามินอะไร

มือเท้าชา ขาดวิตามินอะไร

คืออาการที่เกิดขึ้นเมื่อบริเวณมือหรือเท้ารู้สึกเหมือนไม่มีความรู้สึก หรือมีความรู้สึกแปลก ๆ เช่น เหมือนถูกเข็มแทง, มีความรู้สึกซ่า หรือสูญเสียความไวต่อการสัมผัส

Read More »
วัยทองคืออะไร

วัยทองคืออะไร? เข้าใจการเปลี่ยนแปลงในช่วงชีวิตสำคัญ

วัยทองคืออะไร? คำถามนี้เกิดขึ้นกับหลายคนที่กำลังเข้าสู่ช่วงชีวิตใหม่ ซึ่งเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ วัยทองเป็นช่วงอายุที่ร่างกายเริ่มปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ลดลง

Read More »
ข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อม หนึ่งในปัญหาของสุขภาพ

ภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนบริเวณข้อเข่า ทำให้กระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่กันกระแทกระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้งเสื่อมและบางลง ส่งผลให้กระดูกเสียดสีกันโดยตรงเมื่อเคลื่อนไหว อาจทำให้เกิดอาการปวด บวม และข้อยึดตึง

Read More »